“สีมา” หนูเพศเมียอายุ 47 เดือนอยู่ระหว่างการบำบัดด้วยอี5 ซึ่งเป็นการบำบัดเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการไหลเวียนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอายุน้อยขึ้นใหม่ โดยอายุขัยสูงสุดของหนูสายพันธุ์นี้ที่มีการบันทึกไว้คือ 45.5 เดือน ขณะที่อายุขัยเฉลี่ยของหนูสายพันธุ์นี้อยู่ที่ 24-36 เดือน
การทดลองนำโดยดร.แฮโรลด์ แคทเชอร์ (Harold Katcher) หนึ่งในผู้ค้นพบยีนมะเร็งเต้านมตัวแรก มอบความหวังให้แก่มนุ
การทดลองดังกล่าวนี้เป็นการติดตามวัดผลหลังจากการทดลองอีกรายการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการบำบัดของยูวานส่งผลให้เกิดการชะลอวัย 54% ในหนูเพศผู้ จากการวิเคราะห์อายุชีวภาพ (epigenetic clock) โดยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) ในขณะนั้น ดร.สตีฟ ฮอร์วาธ (Steve Horvath) หลังจากนั้น องค์กรไม่แสวงกำไรสัญชาติเบลเยียมอย่างฮีลส์ (HEALES) ตัดสินใจมอบเงินทุนสนับสนุนการศึกษาเกี่ยวกับอายุขัยสองรายการ การศึกษารายการแรกใช้การบำบัดของยูวาน ชื่อว่า “อี5” (E5) และการศึกษาอีกรายการ นำโดยดร.โรดอลโฟ โกยา (Rodolfo Goya) ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยลา พลาตา (La Plata University) ประเทศอาร์เจนตินา ใช้พลาสมาของหนูอายุน้อย การทดลองของดร.โกยาบรรลุการยืดอายุระดับปานกลาง และขณะนี้การทดลองของยูวานยังคงดำเนินอยู่ โดยสีมายังมีชีวิตอยู่ที่อายุ 47 เดือน
นอกจากนี้ สีมาและหนูตัวอื่น ๆ ที่ได้รับการบำบัดแสดงกำลังมือที่สูงกว่ากลุ่มควบคุม 2.8 เท่า ดร.โกยา ชี้ว่า “ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแสดงถึงอายุขัยที่มีสุขภาพสมบูรณ์ที่ยาวนานขึ้น” สีมาเป็นหนูสายพันธุ์แรทตัส นอร์เวจิคัส (Rattus norvegicus) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีอายุขัยยาวนานสูงสุด 45.5 เดือน อายุขัยเฉลี่ยของหนูสายพันธุ์นี้อยู่ที่ 24-36 เดือน การบำบัดของยูวานเริ่มต้นเมื่อหนูมีอายุได้ 24 เดือนแล้ว และแม้จะเป็นเช่นนั้นก็สามารถขยายอายุขัยสูงสุดของหนูสายพันธุ์นี้โดยใช้กลุ่มทดลองประกอบด้วยหนูเพียง 8 ตัว
กระบวนการการผลิตอี5 อยู่ระหว่างการรอรับสิทธิบัตร เรื่องราวของการค้นพบอี5 อยู่ในหนังสือของดร.แคทเชอร์อย่