อาชีพ พีอาร์ ติด TOP 10 สุดยอดงานเครียดแห่งปี พ.ศ. 2564 เผยแพร่ใน BusinesNewsDaily โดย CareerCast.com สาเหตุเพราะ นักประชาสัมพันธ์จะต้องคอยบริหารและจัดการประเด็นหรือเรื่องราวต่างๆ ที่ส่งผลต่อความเสียหายขององค์กรหรือบุคคล จำเป็นต้องคิดและทำภายใต้สถานการณ์ตึงเครียดอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางสายตาของสาธารณชนที่กำลังจับจ้อง และปัจจุบันเป็นสาขาวิชาที่หลายคนให้ความสนใจเข้ามาเรียนเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ในความเป็นจริง การเป็นนักประชาสัมพันธ์ที่ดีและเก่งนั่นยากมาก
เกณฑ์ในการตัดสินว่าอาชีพใดนั้นมีความเครียดมากที่สุด พิจารณาจาก 11 ตัวแปร ได้แก่
The amount of travel : จำนวนการเดินทาง Growth potential : ศักยภาพในการเติบโต Deadlines : เวลาที่จำกัดในการทำงาน Working in the public eye : การทำงานที่ต้องอยู่ในสายตาของสาธารณชน Competitiveness : การแข่งขันในด้านอาชีพ Physical demands : ศักยภาพด้านร่างกาย Environmental conditions : ปัจจัยแวดล้อมในการทำงาน Hazards encountered : ความเสี่ยงต่ออันตราย Risk to one’s own life : ความเสี่ยงต่อชีวิต Risk to the life of another person : ความเสี่ยงต่อชีวิตของผู้อื่น Meeting the public : การทำงานในพื้นที่สาธารณะ
ลองมาดูอันดับที่ได้จัดขึ้น มีอาชีพไหนบ้าง รายละเอียดดังต่อไปนี้
อันดับ 1 หน่วยทหารเฉพาะกิจ (Enlisted military personnel)
คะแนนความเครียด 72.58 รายได้เฉลี่ยต่อปี $26,802
อันดับ 2 นักดับเพลิง (Firefighter)
คะแนนความเครียด 72.38 รายได้เฉลี่ยต่อปี $49,080
อันดับ 3 นักบิน (Airplane Pilot)
คะแนนความเครียด 61.20 รายได้เฉลี่ยต่อปี $111,930
อันดับ 4 ตำรวจ (Police Officer)
คะแนนความเครียด 51.94 รายได้เฉลี่ยต่อปี $62,960
อันดับ 5 ผู้ประกาศข่าว (Broadcaster)
คะแนนความเครียด 51.27 รายได้เฉลี่ยต่อปี $62,910
อันดับ 6 นักจัดงาน (Event Coordinator)
คะแนนความเครียด 51.19 รายได้เฉลี่ยต่อปี $48,290
อันดับ 7 นักข่าวหนังสือพิมพ์ (Newspaper Reporter)
คะแนนความเครียด 49.96 รายได้เฉลี่ยต่อปี $43,490
อันดับ 8 นักประชาสัมพันธ์ (Public Relations Executive)
คะแนนความเครียด 49.48 รายได้เฉลี่ยต่อปี $111,280
อันดับ 9 เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส (Senior Corporate Executive)
คะแนนความเครียด 48.97 รายได้เฉลี่ยต่อปี $104,700
อันดับ 10 พนักงานขับรถแท็กซี่ (Taxi Driver)
คะแนนความเครียด 48.17 รายได้เฉลี่ยต่อปี $25,980
นอกจากนี้ ผลการศึกษาของ American Psychological Association survey พบว่า ร้อยละ 61 ของชาวอเมริกัน ระบุว่า สถานที่ทำงานมีผลต่อความเครียดอย่างมีนัยสำคัญ โดยมี 4 องค์ประกอบเด่นที่กระตุ้นความเครียด ได้แก่ หัวหน้างานระดับต้น เจ้านายที่ไม่ชอบสื่อสาร การเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องหรือเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา และโอกาสความก้าวหน้าทางตำแหน่งและเงินเดือน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเอ่ยถึงความเครียด แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ความเครียดที่เหมาะสม กับ ความเครียดที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
ไม่ใช่ทุกความเครียดจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี หลายครั้งความเครียดจะช่วยกระตุ้นให้เราสามารถบริหารและจัดการงานหรือเป้าหมายต่าง ๆ ในแต่ละวันได้ แต่บางความเครียดอาจนำไปสู่ผลเสียต่อสุขภาพ
ความเครียดที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
เมื่อเกิดความวิตกกังวลมาก ๆ ทางความคิดในแต่ละวัน เป็นสัญญานที่จะส่งให้เกิดความเครียด หากเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดเป็น “ความเครียดเรื้อรัง” มีลักษณะเชื่อมโยงกับอาการดังต่อไปนี้
ความดันโลหิตสูงขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันลดลง ใจร้อน หงุดหงิดง่าย เหนื่อยล้า นอนไม่หลับ น้ำหนักเพิ่มขึ้น ประจำเดือนขาด ปวดท้องและศีรษะ อวัยวะเพศไม่ตื่นตัว สมาธิสั้น
แล้วคุณละ เครียดระดับไหนแล้ว?
อ้างอิงจากบทความ The Top 10 Most and Least Stressful Jobs
Post Views: 5,723
ประชาสัมพันธ์ พีอาร์