fbpx

ภาษากายน่ารู้ : เทคนิคกระตุ้นเพื่อนร่วมงานให้แสดงความคิดเห็น

มนุษย์สามารถแสดงสัญลักษณ์ได้มากกว่า 70,000 รูปแบบ แสดงสีหน้าได้ 250,000 แบบ และออกลีลาท่าทางได้มากกว่า 1,000 แบบ โดยในแต่ละรูปแบบจะส่งอิทธิพลต่อความรู้สึกและแสดงความหมายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ นักสื่อสารสามารถนำเอารูปแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้สำหรับการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้ วันนี้ จะขอแนะนำเทคนิคกระตุ้นเพื่อนร่วมงานให้แสดงความคิดเห็นกัน

องค์กรหลายแห่ง ส่วนใหญ่ต้องการรับฟังความคิดเห็นและไอเดียต่างๆ จากพนักงาน เช่นเดียวกัน แต่ละฝ่ายงานต่างอยากได้ไอเดียใหม่ๆ จรัสๆ มาพัฒนาการทำงาน หลายครั้ง พวกเราอาจไม่ทันสังเกตุว่า ทำไมนะ เวลาประชุมถึงไม่ค่อยมีใครแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนะไอเดียใหม่ๆ บ้าง ก็เพราะท่าทีหรือการแสดงออกของเราหรือเปล่า ที่ปิดกั้นความคิดเห็นหรือไอเดียใหม่ๆ จากเพื่อนร่วมงานหรือพนักงาน

ภาษากาย

เป้าหมายหลักของ การกระตุ้นเพื่อนร่วมงานให้แสดงความคิดเห็น นั่นคือ กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมและทำให้เขาคนนั้นรู้สึกว่า ปลอดภัย ในการเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นครั้งนั้น

สิ่งที่คุณควรทำคือ

  1. เดินเข้าไปหา หรือ เขยิบเข้าไปใกล้ในระยะที่เหมาะสม (ที่เรียกว่า พื้นที่สังคม อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่) เพื่อแสดงให้เห็นถึงท่าทีของการสนับสนุน ส่งเสริม และให้ความสำคัญ
  2. แสดงสีหน้าและท่าทีสนใจ หนึ่งในกฎแห่งความสัมพันธ์ที่สำคัญนั่นคือ การให้เกียรติคู่สนทนาด้วยความตั้งใจในการรับฟังความคิดเห็น จะไม่เป็นการดีเลย หากคู่สนทนากำลังพูดแล้วคุณหันไปทำอย่างอื่น ไม่ว่า จะเป็นการนั่งเล่นโทรศัพท์ นั่งพิมพ์คอมพิวเตอรื หรือ หันไปพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานท่านอื่น
  3. พยักหน้าตอบรับในการแสดงความคิดเห็น การพยักหน้าไม่ได้หมายความว่า ยอมรับข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอนั้นและจะต้องปฏิบัติตาม แต่หมายความถึง การรับฟังด้วยความเข้าใจ หรือคุณเข้าใจในสิ่งที่เขากำลังสื่อสารอยู่
  4. ยิ้มและแสดงท่าทีเชิงบวกเมื่อเขาแสดงความคิดเห็น การแสดงความเป็นมิตรจะทำให้เพื่อนร่วมงานหรือพนักงานของคุณกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นและเผยแนวความคิดใหม่ๆ มากขึ้น

หวังว่าแนวทางนี้ จะเป็นอีกทางเลือกให้คุณและเพื่อนร่วมงานมีความสัมพันธ์อันดี และเกิดแนวคิดใหม่ๆ ในการทำงาน

เขียนโดย

สราวุธ บูรพาพัธ

สราวุ​ธ เป็นที่ปรึกษาด้านการสื่อสารให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง มีประสบการณ์ด้านการสื่อสารในธุรกิจพลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจความงาม ธุรกิจบริการ และศูนย์การเรียนรู้ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติกว่า 20 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวางแผนการสื่อสารแบบองค์รวม เพื่อสนับสนุนแผนการตลาดหรือสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กร รวมทั้ง บริหารจัดการสื่อสารภาวะวิกฤต

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *