fbpx

ภูมิทัศน์งานประชาสัมพันธ์: PR Landscape 2024

งานประชาสัมพันธ์ในปี 2024 มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เนื้อหา การใช้สื่อ และยุทธวิธีที่พัฒนาขึ้นไปตามการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การผสมผสานช่องทางการสื่อสารแบบดั้งเดิมและดิจิทัล ประเด็นด้านวัฒนธรรม การเติบโตของภาคอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง นโยบายรัฐ ทำให้นักประชาสัมพันธ์จำเป็นต้องปรับตัวพร้อมรับมือกับการแข่งขันในเรื่องข้อมูลข่าวสารและการจัดการภาวะวิกฤตไปพร้อมกัน

บริบททางวัฒนธรรม

pr landscape

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการกำหนดภูมิทัศน์ของการประชาสัมพันธ์ นักประชาสัมพันธ์จำเป็นต้องผสมผสานระหว่างค่านิยมดั้งเดิม อิทธิพลสมัยใหม่ การเน้นย้ำความเคารพ ให้ความสำคัญกับการสื่อสารระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่อง การเสียหน้า หรือ การได้หน้า รวมทั้ง ทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม การผสมผสานของประเพณี ภาษา และบรรทัดฐานทางสังคม เพื่อให้สามารถสร้างข้อความที่โดนใจผู้ชมที่หลากหลายได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ภูมิทัศน์สื่อ

pr landscape

ภูมิทัศน์สื่อในประเทศไทยเป็นการผสมผสานระหว่างสื่อแบบดั้งเดิมและดิจิทัล แม้ว่าปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อกระจายเสียงจะยังคงมีอิทธิพล แต่การเพิ่มขึ้นของสื่อออนไลน์และสื่อสังคมออนไลน์ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการเผยแพร่ข้อมูล นักประชาสัมพันธ์ จำเป็นต้องศึกษาถึงพฤติกรรมการเสพสื่อของกลุ่มเป้าหมายทั้งแบบดั้งเดิมและดิจิทัล

รัฐสัมพันธ์

pr landscape

การความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานภาครัฐและธุรกิจ ช่วยในการกำหนดและพัฒนากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างประสบความสำเร็จ รวมทั้ง สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยยังคงมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา หลายครั้ง กิจกรรมประชาสัมพันธ์มักจะเกี่ยวพันกับพลวัตทางการเมือง ทำให้นักประชาสัมพันธ์ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการจัดการประเด็นและปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับภูมิทัศน์ทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การศึกษาความเข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับความแตกต่างทางการเมืองมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างเนื้อหาหรือข้อความหลัก (Key Message) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พลวัตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

pr landscape

เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและมีการพัฒนาจะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เวทีโลก นักประชาสัมพันธ์มีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญในการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดึงดูดการลงทุน และส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศในฐานะศูนย์กลางธุรกิจที่เจริญรุ่งเรือง การทำความเข้าใจจังหวะทางเศรษฐกิจถือเป็นสิ่งสำคัญในสร้างสรรค์เนื้อหาและกิจกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ การเติบโตของภาคเศรษฐกิจที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การบริการ การผลิต เทคโนโลยี การเงินและการลงทุน เปิดโอกาสและความท้าทายให้แก่นักประชาสัมพันธ์ให้ดำเนินการสื่อสารภายใต้กรอบกฎหมายและการกำกับดูแล ตามความต้องการของแต่ละภาคอุตสาหกรรม

การเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์

pr landscape

การตลาดแบบใช้อินฟลูเอนเซอร์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2022 และ 2023 เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 และคาดการณ์ว่าในปีนี้ จะสูงถึง 68.78 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 2.3 พันล้านบาท (ข้อมูลจาก Statista) โดยอินฟลูเอนเซอร์บนโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคและการรับรู้ถึงแบรนด์ การร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์กลายเป็นกลยุทธ์สำคัญของการประชาสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้น

การเปลี่ยนผ่านสู่พีอาร์ดิจิทัล

pr landscape

โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในแง่อุปกรณ์ เทคโนโลยี บุคลากร ดังนั้น นักประชาสัมพันธ์ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้และพัฒนากลยุทธ์สื่อสารโดยบูรณาการจากประโยชน์ของความก้าวหน้าด้านดิจิทัล ทั้งในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล การตรวจสอบและติดตาม การพัฒนาเทคนิคการเล่าเรื่อง และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย

โดยสรุป นักประชาสัมพันธ์ควรทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในภูมิทัศน์ของงานประชาสัมพันธ์ อันเป็นสิ่งสำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างสัมพันธภาพกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเตรียมความพร้อมให้สามารถปรับตัวเข้ากับแนวโน้มหรือเทรนด์ที่เกิดขึ้นใหม่ รวมถึงนวัตกรรมต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถกำหนดประเด็นสาธารณะ ขับเคลื่อนเรื่องราวเกี่ยวกับแบรนด์ ผสานสู่วิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมายในสังคมไทยได้อย่างมีชีวิตชีวา

เรียบเรียงโดย

sarawut burapapat

สราวุธ บูรพาพัธ

สราวุ​ธ เป็นที่ปรึกษาด้านการสื่อสารให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง มีประสบการณ์ด้านการสื่อสารในธุรกิจพลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจความงาม ธุรกิจบริการ และศูนย์การเรียนรู้ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติกว่า 20 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวางแผนการสื่อสารแบบองค์รวม เพื่อสนับสนุนแผนการตลาดหรือสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กร รวมทั้ง บริหารจัดการสื่อสารภาวะวิกฤต

จบการศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *