fbpx

เรียนรู้จากฝันร้ายของ California Pizza Kitchen

การที่แคมเปญกลายเป็นไวรัลในโซเชียลมีเดียเป็นความฝันของทุกแบรนด์ แต่โพสต์คอมเมนต์ร้าย ๆ กลายเป็นไวรัลกลับเป็นฝันร้ายของทุกแบรนด์ ตัวอย่างล่าสุด เมื่อพนักงาน California Pizza Kitchen (CPK) จัดการคำสั่งซื้อที่ผิดพลาด ส่งผลให้ลูกค้าจัดหนัก จัดเต็มแชร์ความไม่พอใจลงบน TikTok ซึ่งมีผู้ชมมากกว่า 4.5 ล้านวิว สร้างฝันร้ายทางโซเชียลมีเดียให้กับ CPK มาเรียนรู้วิธีการเปลี่ยนวิกฤตที่เหมือนฝันร้ายนั้นให้กลายเป็นการชนะใจสื่อและผู้บริโภคกัน!

คลิปไวรัลจากความไม่พอใจของลูกค้าที่ได้รับเมนูผิดจาก California Pizza Kitchen (CPK) เพราะพนักงานทำให้ผิดจ้าาาา

ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบประเด็นในโซเชียลมีเดีย (Social Listening)

เรื่องราววิกฤติของ CPK เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีลูกค้าชื่อ Riley สั่งมักกะโรนีแอนด์ชีสแต่ได้รับเพียงชีส วิดีโอดังกล่าวทำให้เกิดความคิดเห็นหลายพันรายการ ส่วนใหญ่แสดงความเห็นใจต่อ Riley หรือล้อเลียนเรื่องมักกะโรนีที่หายไป

ความคิดเห็นบางส่วนกลับส่งตรงไปยัง California Pizza Kitchen โดยการ tag และเรียกร้องให้จัดส่ง มักกะโรนีแอนด์ชีส ให้สาวคนนี้ฟรี!!!”

หลังจากได้รับฟังเสียงบนโลกออนไลน์ CPK ตอบกลับทันที

“เราจะทำให้ถูกต้อง—ไม่ต้องห่วง!”

การรับฟังเสียงในโซเชียลมีเดีย ช่วยเพิ่มความเป็นมนุษย์และจัดการสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับแบรนด์ได้อย่างทันท่วงที นอกเหนือจากการดูแค่เพียงยอดไลค์และยอดแชร์ แต่การให้เวลาเพื่อทำความเข้าใจและความต้องการของผู้ติดตาม จะช่วยให้แบรนด์สามารถจัดการปัญหาต่างๆ หรือตอบสนองต่อประเด็นต่างๆ ได้อย่างดียิ่งขึ้น

ตอบกลับโดยมุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง สื่อความเป็นมนุษย์

มันเป็นเรื่องปกติที่แบรนด์ที่เผชิญกับวิกฤติจะมุ่งเน้นที่การฟื้นฟูชื่อเสียง โดยระบุว่าปัญหานั้นเป็นเพียงข้อผิดพลาดเดียว อธิบายระบบที่มีอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น และชี้ไปที่ประวัติของการบริการลูกค้าที่ดีเยี่ยมในอดีต การตอบกลับแบบนี้เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นธุรกิจ

การตอบกลับที่มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง อย่างที่ CPK แสดงให้เห็นนั้นดีกว่ามาก การยอมรับข้อผิดพลาดและทำเกินกว่าเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด เป็นการแสดงให้เห็นว่าลูกค้าเป็นศูนย์กลาง สำคัญที่สุด ไม่ใช่ทำเพื่อชื่อเสียงของแบรนด์

แล้ว California Pizza Kitchen ทำอย่างไร

แบรนด์ตอบกลับด้วยวิดีโอข้อความบน TikTok ของ CPK ยอมรับข้อผิดพลาดในวิธีที่สนุก และบอกว่าจะฝึกทีมงานใหม่ให้เตรียมมักกะโรนีแอนด์ชีส ที่ถูกต้อง แถมด้วยพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ออกโปรโมชั่นให้กับลูกค้าทุกคน รับส่วนลด 50% สำหรับมักกะโรนีแอนด์ชีส ตลอดทั้งเดือนอีกด้วย

@calpizzakitchen

PSA on how to make CPK Mac ‘N’ Cheese correctly.👨🏻‍🍳🍝 Use promo code cheeseANDmac for 50% off your Mac ‘N’ Cheese order available for takeout and delivery. Offer valid July 19, 2024 – July 31, 2024, for take-out or CPK delivery only. No third-party delivery. 50% off order of Mac and Cheese. Use promo code: cheeseANDmac. Only at participating locations in the U.S. (excluding locations in airports, stadiums, universities, Guam, mobile kitchen, and franchised locations). Excludes tax, catering orders and gratuity. No substitutions, modifications, or additions. Cannot combine with other offers or fundraisers. One per customer per day. One per check. No cash or gift card value. Employees are not eligible and will not apply to Dine Out Card. Void where prohibited. Additional exclusions or restrictions may apply, and terms may change without notice. Offer may be canceled due to pricing or other errors. Questions (including list of non-participating locations)? Call (800) 919-3227.

♬ Funny song for video creation – dg cria
คลิปไวรัลจากการตอบกลับสถานการณ์วิกฤตของ CPK ที่ใช้ความสนุกสนานและแสดงความรับผิดชอบเพื่อลูกค้าคนสำคัญ

นอกจากนี้ การสื่อสารของ CPK ไปยัง Riley สุดใจป้ำ เพราะนอกจากจะได้รับมักกะโรนีแอนด์ชีสขนาดใหญ่ยักษ์ส่งตรงถึงบ้านแล้ว ยังมีบัตรของขวัญอีกสองใบ—หนึ่งใบสำหรับทานมักกะโรนีแอนด์ชีสฟรีเป็นเวลาหนึ่งปีและอีกใบสำหรับทานพิซซ่าฟรีเป็นเวลาหนึ่งปี

สรุป CPK ตอบสนองอย่างเป็นมนุษย์โดยมุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งสื่อสารผ่านเฉพาะช่องทางของ tiktok ของแบรนด์ ไม่ได้โฆษณาไปทั่วประเทศ ด้วยเพราะเหตุเกิดขึ้นที่ tiktok ตรงไปตามแนวคิดที่ผมเคยเขียนหรือบรรยายไว้ในหลายครั้งในหลักสูตร การบริหารสื่อสารภาวะวิกฤต แล้วว่า ไฟไหม้ที่ไหน ให้ดับที่นั่น

California Pizza Kitchen

การฟังเสียงและตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ในโซเชียลมีเดียและการสื่อสารที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางเป็นแนวทางที่แบรนด์สามารถใช้ได้ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤตเพื่อสร้างความผูกผันกับลูกค้า และรักษาคุณค่าของแบรนด์เมื่อเกิดเรื่องราวต่างๆ ขึ้น

เรียบเรียงโดย

sarawut burapapat

สราวุธ บูรพาพัธ

สราวุ​ธ เป็นที่ปรึกษาด้านการสื่อสารให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง มีประสบการณ์ด้านการสื่อสารในธุรกิจพลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจความงาม ธุรกิจบริการ และศูนย์การเรียนรู้ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติกว่า 20 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวางแผนการสื่อสารแบบองค์รวม เพื่อสนับสนุนแผนการตลาดหรือสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กร รวมทั้ง บริหารจัดการสื่อสารภาวะวิกฤต

จบการศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *