fbpx

แนวโน้มตลาดและหนทางอยู่รอดของ ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ทำให้หลายองค์กรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ปรับลดจำนวนพนักงาน งบประมาณ แต่ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละด้านมากยิ่งขึ้น เพื่อมาช่วยส่งเสริมและสนับสนุนองค์กร ดังนั้น การว่าจ้างที่ปรึกษาภายนอก จึงกลายเป็นหนึ่งทางเลือกและทางออกที่องค์กรต่างๆ หันมาพิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านการสื่อสาร งานประชาสัมพันธ์ ที่จำเป็นต้องประสานงานหรือติดต่อโดยตรงกับผู้บริหาร ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

ประชาสัมพันธ์

ขณะเดียวกัน ก็ต้องยอมรับว่า ปัจจุบัน ลูกค้าหรือองค์กร ก็สามารถที่จะทำงานด้านการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ได้เอง แต่ว่า ก็ยังมีบางสถานการณ์หรือกลุ่มเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กลุ่มลูกค้ายังต้องการความช่วยเหลืออยู่

ดังนั้น บริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ จะอยู่รอดและเติบโตได้ จำเป็นต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน บางแห่งมีการแตกไลน์ธุรกิจใหม่ด้านดิจิทัล ด้านสื่อสังคมออนไลน์ บางรายก็ re-brand ใหม่ แต่หัวใจสำคัญที่สุดน่าจะต้องปรับตัวใน 5 เรื่องได้แก่

  1. จงเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รู้ลึก รู้จริงเชิงลึก อย่าลืมว่าอะไรที่ธรรมดาใครๆ ก็ทำได้ แต่หากคุณเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในเรื่องหนึ่งๆ ย่อมจะทำให้ไม่มีใครสามารถมาแทนคุณได้
  2. ช่วยเหลือลูกค้าด้วย Strong Content หัวใจสำคัญของการสื่อสารคือ การพิจารณาและใช้เนื้อหาที่เหมาะสม โดนใจกลุ่มเป้าหมาย จงเปลี่ยนหมวกที่สวมในฐานที่ปรึกษาสู่ความคิดของกลุ่มเป้าหมาย ศึกษาว่า เนื้อหาแบบไหนที่จะไปในช่องทางต่างๆ จะสร้างเนื้อหาอย่างไร จะนำเสนอรูปแบบไหน ประเมินผลอย่างไร เป็นต้น
  3. ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ ต้องปรับบทบาทเป็น ผู้ให้ความรู้ หรือ คุณครู ที่สร้างบทเรียนใหม่ๆ สอนเรื่องราวใหม่ๆ แบ่งเป็นแนวคิดและเรื่องราวใหม่ๆ ของวงการให้แก่กลุ่มลูกค้า
  4. งานสร้างสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าขององค์กร เป็นหน้าที่ของลูกค้าองค์กร ไม่ใช่ของที่ปรึกษา จำไว้อย่าง ที่ปรึกษาสามารถแนะนำให้ลูกค้าองค์กรทำเนื้อหาแบบไหน ผ่านเครื่องมือออนไลน์ใด หรือ เชิญ blogger influencer มาร่วมงานองค์กร แต่งานที่จำเป็นต้องสานสัมพันธ์กับลูกค้าขององค์กรขอให้ปล่อยเป็นหน้าที่ขององค์กรทำ เช่น ตอบคำถามแทนลูกค้าบนโลกออนไลน์ ตอบคำถามแทน CEO เพราะการสร้างความสัมพันธ์ และความน่าเชื่อถือ ต้องกระทำโดยลูกค้าองค์กรโดยตรง ไม่ใช้ให้ที่ปรึกษาเป็นผู้ดำเนินการแทน
  5. ให้ความเคารพและสร้างสัมพันธ์กับสื่อใหม่ๆ อาทิ blogger, fanpage, net idol เป็นต้น แต่ไม่ลืมสื่อดั้งเดิม ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หากจะกล่าวง่ายๆ สื่อดั้งเดิม เป็น one night stand แต่สื่อสมัยใหม่ จะอยู่ยาวนานมากกว่าบนโลกออนไลน์ ทว่าสื่อดั้งเดิมปัจจุบันก็พยายามเพิ่มช่องทางบนสื่อออนไลน์มากขึ้น การพัฒนาความสัมพันธ์ อาจต้องให้ความสนใจทั้งสองส่วนเพิ่มขึ้นด้วย

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดตามคอลัมน์นี้ผ่าน https://www.prmatter.com/category/pr-mastery/the-pr-consultant/

เขียนโดย

สราวุธ บูรพาพัธ

สราวุ​ธ เป็นที่ปรึกษาด้านการสื่อสารให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง มีประสบการณ์ด้านการสื่อสารในธุรกิจพลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจความงาม ธุรกิจบริการ และศูนย์การเรียนรู้ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติกว่า 20 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวางแผนการสื่อสารแบบองค์รวม เพื่อสนับสนุนแผนการตลาดหรือสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กร รวมทั้ง บริหารจัดการสื่อสารภาวะวิกฤต

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *