fbpx

พลิกโฉมสื่อสารด้วย AI: Microsoft Copilot

สามสัปดาห์ที่ผ่านมา Microsoft เปิดตัว Copilot สำหรับ Windows ซึ่งเป็นชุดเทคโนโลยีอัดฉีดพลังรวมเข้ากับผลิตภัณฑ์เดิมในชื่อชุดโปรแกรม “Copilot” วางตำแหน่งการตลาดไว้ว่าเป็น ผู้ช่วยเชิงกลยุทธ์ ไม่ใช่ระบบอัตโนมัติที่ทำงานแทนเราทั้งหมด

หนึ่งในตัวอย่างสำคัญ หลายครั้งเมื่อแต่ละคนเปิด Word ขึ้นมาเป็นหน้าเปล่า เป็นไหม นั่งหน้าจอก็แล้ว แต่ยังคิดอะไรไม่ออก แล้วสักพัก ก็ปิดโปรแกรม Word ไป แต่ตอนนี้ เจ้านักบินผู้ช่วย หรือ Copilot ที่ Microsoft เรียกว่า ผู้ช่วยเชิงกลยุทธ์ (Strategic Assistant) จะช่วยให้คุณเขียนข้อมูลลงบน Word ได้จากข้อมูลเบื้องต้นที่คุณมีจาก Power Point

ในกรณี Bing Chat ก็มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ช่วยวิจัยส่วนบุคคล เหมาะสำหรับแต่ละบุคคลในองค์กรต้องการค้นคว้า หาข้อมูลใดๆ ทุกอย่างจะเป็นความลับและอยู่แค่ในองค์กรเท่านั้น รวมทั้งข้อมูลต่างๆ ที่ค้นหาได้จาก Bing Chat จะช่วยให้คุณสามารถนำไปพัฒนาต่อเป็นเอกสารสำคัญต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ระบบ AI ที่ทำมาเพื่อนักสื่อสาร

หน้าที่ประจำของนักสื่อสารและประชาสัมพันธ์ จะต้องทำรายงานประเมิน ประมวล และการตอบสนองของกลุ่มเป้าหมายให้แก่กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ โชคดีที่ Microsoft ได้พัฒนาระบบมารองรับการทำงานใน 3 หน้าที่ได้แก่

  1. Hindsight หรือ ประมวลผลเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้ผ่านไปแล้ว (near real-time) แสดงภาพรวมของแต่ละข่าว พาดหัว ประเด็นที่เกี่ยวข้อง ทำให้นักสื่อสารและประชาสัมพันธ์สามารถจัดทำรายงานได้ง่ายขึ้นตรงตามเป้าหมายและการวัดผล
  2. Insight หรือ ข้อมูลเชิงลึกที่ทำให้เห็นภาพรวมของแนวโน้มสถานการณ์ เทรนด์ การวางแผนหรือสถานการณ์ของคู่แข่ง
  3. Foresight หรือ การคาดการณ์ มุ่งเน้นในการวิเคราะห์ภูมิทัศน์เชิงลึกนำไปสู่การประเมินสถานการณ์ในอนาคต

เครื่องมือที่น่าสนใจ

ตัวอย่างเครื่องมือสื่อสารภายในองค์กรที่ Microsoft สร้างขึ้นและกำลังปรับปรุงอยู่ในปัจจุบัน 

  • FAQ generator ของ Microsoft หรือ QnA Maker เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างคำถามที่ถามและคำตอบจากเนื้อหาของบล็อกหรือเว็บไซต์ต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยี AI เพื่อช่วยในการสร้างคำถามและคำตอบที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่ให้ไว้ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรในการสร้าง FAQ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ QnA Maker ยังสามารถใช้สร้าง chatbot ได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น สามารถแชร์ลิงก์บทสัมภาษณ์ของนักข่าวชื่อดังมายังเครื่องมือ แล้ว AI จะช่วยวิเคราะห์และจำแนกเป็นประเด็นคำถามที่นักข่าวคนนั้นๆ มาจะถามบ่อยๆ
  • เครื่องมือที่จะช่วยในการเขียน Prompts เพื่อเล่าเรื่องในแต่ละช่องทางสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ ร่วมกับเครื่องมือสร้างเนื้อหาสำหรับการผลิตสื่อวิดีโอออนไลน์ หรือจะให้เครื่องมือช่วยสรุปประเด็นที่สนใจอย่างเฉพาะเจาะจงก็ได้
  • Briefing statement generator เป็นเครื่องมือที่จะช่วยสรุปรายละเอียดสำคัญในการประชุม ประเด็นที่ผู้บริหารควรนำเสนอ และแนวทางคำถามที่อาจจะเกิดขึ้น

บทสรุป

นับแต่นี้ AI จะเข้ามามีอิทธิพลต่อการสื่อสารของนักสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้น เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้อง

  • ทดลองใช้ ทดลองเล่น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจ เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้ง
  • ต้องพร้อมปรับตัวตลอดเวลา เพราะหลายเครื่องมือมาไว ไปไว เปลี่ยนไวอย่างน่าใจหาย
  • บางสิ่งที่ AI ทำไม่ได้ นั่นคือ ความคิดสร้างสรรค์ ไอเดีย การเป็นโฆษกองค์กร และอีกหลายสิ่งหลายอย่าง ยังเป็นที่หน้าที่ของ มนุษย์ เราอยู่ และ
  • ประสบการณ์ของมนุษย์ ยังเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสาร ควรใช้เป็นแนวทางหลักและเป็นศูนย์กลางในการวางแผน เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัฒนธรรมย่อยที่หลากหลายหรือจริยธรรมการสื่อสารและดำเนินธุรกิจ

เรียบเรียงโดย

sarawut burapapat

สราวุธ บูรพาพัธ

สราวุ​ธ เป็นที่ปรึกษาด้านการสื่อสารให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง มีประสบการณ์ด้านการสื่อสารในธุรกิจพลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจความงาม ธุรกิจบริการ และศูนย์การเรียนรู้ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติกว่า 20 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวางแผนการสื่อสารแบบองค์รวม เพื่อสนับสนุนแผนการตลาดหรือสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กร รวมทั้ง บริหารจัดการสื่อสารภาวะวิกฤต

จบการศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *