fbpx

HOW TO แก้วิกฤต เมื่อองค์กรติดร่างแห

ในโลกธุรกิจที่เต็มไปด้วยความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทต่างๆ ไม่มีองค์กรใดที่สามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวเองโดยสิ้นเชิง แต่ละองค์กรต่างต้องพึ่งพาเครือข่าย สายส่ง หรือ/และพันธมิตร เพื่อสร้างการเติบโตและรักษาสถานะองค์กรหรือตำแหน่งทางการตลาดในปัจจุบัน ทว่าเครือข่ายเหล่านี้มักจะมาพร้อมกับความเสี่ยงที่ขยายตัวตามไปด้วย

วิกฤต

แม้จะมีเครือข่ายหรือพันธมิตรที่เชื่อถือได้และมีความสัมพันธ์ยาวนาน แต่ต้องจำไว้เสมอว่า ปัญหาของกลุ่มพันธมิตรหรือเครือข่ายเหล่านั้น สามารถกลายเป็นปัญหาของคุณได้ ดังนั้น เพื่อปกป้องชื่อเสียงและธุรกิจของตนเอง ทีมสื่อสารจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับการจัดการสื่อสารที่เหมาะสม เมื่อความเสี่ยงจากบุคคลที่สามกลายเป็นปัญหาต่อองค์กรโดยตรง

ตัวอย่างล่าสุดของความเสี่ยงจากบุคคลที่สาม ที่เป็นกรณีดังไปทั่วโลก คือการล่มสลายของ Silicon Valley Bank (SVB) ซึ่งเป็นธนาคารพันธมิตรกับธุรกิจมากมาย รวมถึงสตาร์ทอัพ โดยการล่มสลายเกิดจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดหลายอย่าง แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ขอบเขตของความเสียหายและผลที่ตามมานั้น ขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวาง และหลายธุรกิจไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

เมื่อวิกฤติขององค์กรหนึ่งส่งผลกระทบ จนเป็นวิกฤตสืบเนื่องถึงองค์กรคุณ : แนวทางการเตรียมพร้อมและการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพในยุคนี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็น

การเตรียมพร้อมสำหรับวิกฤติ

การวางแผนบริหารสื่อสารภาวะวิกฤต เป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องธุรกิจของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นภายในหรือจากภายนอก การวางแผนจัดการวิกฤต และการบริหารสื่อสารภาวะวิกฤตไว้ล่วงหน้าช่วยให้คุณสามารถจัดการปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดวิกฤติ

  • การวิเคราะห์ความเสี่ยง: ทำความเข้าใจและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากคู่ค้าและผู้ให้บริการ
  • การบริหารสื่อสารภาวะวิกฤตที่มีประสิทธิภาพ: พัฒนาข้อความหลักในสถานการณ์ต่างๆ ให้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ
  • การฝึกซ้อมแผน: ทดสอบและปรับปรุงแผนการจัดการวิกฤตและสื่อสารภาวะวิกฤตอย่างสม่ำเสมอ

การตอบสนองต่อวิกฤติ

เมื่อเกิดวิกฤติ การตอบสนองต่อวิกฤตอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในการจำกัดความเสียหาย

  • การสื่อสารทันที: ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • ความโปร่งใสในการสื่อสาร: สื่อสารอย่างตรงไปตรงมาและโปร่งใส
  • การให้ความช่วยเหลือ: ให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ

การสร้างความเชื่อมั่นและชื่อเสียง

การจัดการสื่อสารภาวะวิกฤติอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นและชื่อเสียงของบริษัท โดยมุ่งเน้นใน 3 องค์ประกอบสำคัญ

  • การสร้างความไว้วางใจ: แสดงให้เห็นว่าบริษัทของคุณสามารถจัดการกับสถานการณ์ที่ยากลำบากได้
  • การสื่อสารอย่างต่อเนื่อง: สื่อสารอย่างสม่ำเสมอกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลังจากวิกฤติผ่านพ้นไป
  • การเรียนรู้และปรับปรุง: นำบทเรียนที่ได้รับจากวิกฤติมาปรับปรุงแผนการสื่อสารและกระบวนการทำงาน

สรุป

การเตรียมพร้อมและจัดการสื่อสารภาวะวิกฤติอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องชื่อเสียงและความเสียหายต่อธุรกิจ การมีแผนสื่อสารที่ชัดเจน กระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างความเชื่อมั่นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับวิกฤติ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือจากคู่ค้าและผู้ให้บริการภายนอก การเรียนรู้และปรับปรุงจากแต่ละสถานการณ์จะช่วยให้ธุรกิจแข็งแกร่งขึ้นและพร้อมเผชิญกับความท้าทายในอนาคต

เรียบเรียงโดย

sarawut burapapat

สราวุธ บูรพาพัธ

สราวุ​ธ เป็นที่ปรึกษาด้านการสื่อสารให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง มีประสบการณ์ด้านการสื่อสารในธุรกิจพลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจความงาม ธุรกิจบริการ และศูนย์การเรียนรู้ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติกว่า 20 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวางแผนการสื่อสารแบบองค์รวม เพื่อสนับสนุนแผนการตลาดหรือสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กร รวมทั้ง บริหารจัดการสื่อสารภาวะวิกฤต

จบการศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *