ในช่วงที่เรากำลังวางแผนงบประมาณสำหรับปี 2025 หลายธุรกิจคงเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนอีกรอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง สัญญาณเศรษฐกิจที่ขึ้นๆ ลงๆ หรือการขาดเงินทุน ที่หลายบริษัทต้องตัดสินใจประหยัดงบทุกด้าน
น่าเสียดายที่บางคนมองว่า PR เป็นแค่ “ของฟุ่มเฟือย” ที่มีไว้ในช่วงที่ธุรกิจกำลังไปได้ดีเท่านั้น หลายๆ ครั้งที่บริษัทเลือกตัดงบ PR เพื่อประหยัดต้นทุน แต่สุดท้ายกลับต้องเสียเงินมากกว่าเดิมเพื่อฟื้นฟูภาพลักษณ์หลังจากเศรษฐกิจฟื้นตัว
ทำไม PR จึงเป็นสิ่งที่ควรเก็บไว้ในงบประมาณปี 2025?
- PR เป็นส่วนหนึ่งของการขาย – PR ช่วยสร้างการรับรู้และภาพลักษณ์ให้แบรนด์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการดึงดูดลูกค้า ไม่ต่างจากการลงทุนกับทีมขาย ที่สำคัญ PR ยังมี ROI ที่วัดผลได้ชัดเจน เมื่อวางกลยุทธ์อย่างเหมาะสม บริษัทสามารถติดตามผลลัพธ์จากการทำ PR ได้ตรงกับเป้าหมายการขาย
- PR ช่วยรักษาโมเมนตัม – เมื่อบริษัทหยุด PR ไป นอกจากจะต้องใช้เวลาอีก 6-12 เดือนในการฟื้นฟู คุณไม่มีทางรู้ว่าลูกค้าหรือคู่ค้าจะกลับมาสนใจเมื่อไหร่ แทนที่จะหยุด PR ไปทั้งหมด ลองมองว่าเป็นการปล่อยน้ำหล่อเลี้ยงท่อในช่วงหน้าหนาว เปิดไว้พอให้มีการเคลื่อนไหว เพื่อป้องกันไม่ให้เสียหายเมื่อกลับมาอีกครั้ง
- PR ช่วยเติมเต็มช่องว่าง – สำหรับทีมการตลาดหรือทีมสื่อสารที่ทำงานเต็มมือ PR Agency สามารถช่วยแบ่งเบาภาระต่างๆ ได้ไม่ใช่แค่เรื่องสื่อมวลชน PR Agency ยังเป็นเหมือนทีมงานขยายที่ช่วยให้แบรนด์ของคุณไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้เร็วขึ้น
- PR สำหรับการจัดการวิกฤต – สิ่งหนึ่งที่เราเรียนรู้มาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คือ วิกฤตสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ หากรอให้เกิดวิกฤตก่อนค่อยเรียกใช้ Agency ก็อาจเกิดความเสียหายมากมายในช่วงที่ Agency ต้องเริ่มเรียนรู้ธุรกิจของคุณ แต่ถ้ามี Agency อยู่เคียงข้างแล้วก็สามารถรับมือได้ทันที
สรุปคือ ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่แน่นอน การรักษา PR ไว้จะช่วยให้คุณอยู่เหนือคู่แข่ง หากคุณหยุดกิจกรรม PR แล้วรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัว คู่แข่งคุณคงจะไม่หยุดเช่นกัน และอาจจะฉีกหนีไปได้ไกล ดังนั้น นี่คือช่วงเวลาที่คุณควรทำตรงกันข้าม คือ เก็บ PR ไว้ เพื่อรักษาภาพลักษณ์และตำแหน่งของแบรนด์ในตลาดอย่างต่อเนื่อง
เรียบเรียงโดย
สราวุธ บูรพาพัธ
สราวุธ เป็นที่ปรึกษาด้านการสื่อสารให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง มีประสบการณ์ด้านการสื่อสารในธุรกิจพลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจความงาม ธุรกิจบริการ และศูนย์การเรียนรู้ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติกว่า 20 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวางแผนการสื่อสารแบบองค์รวม เพื่อสนับสนุนแผนการตลาดหรือสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กร รวมทั้ง บริหารจัดการสื่อสารภาวะวิกฤต
จบการศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย